พรินเตอร์อิงค์เจ็ททำงานอย่างไร???
ก่อนอื่นขอแนะนำพรินเตอร์แบบต่างๆ ที่นิยมใช้งานกันอยู่ทั่วไปกันก่อน เพื่อที่ผู้อ่านจะพอเปรียบเทียบจุดเด่นของพรินเตอร์แต่ละแบบ ซึ่งในแต่ละแบบนั้น จะมีจุดเด่นที่สุดที่พรินเตอร์แบบอื่นจะไม่มี ดังนั้น พรินเตอร์แต่ละแบบจึงเหมาะกับการทำงานเฉพาะด้าน
พรินเตอร์ที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบันนี้ แบ่งได้เป็นประเภทหลักอยู่ 3 ประเภทคือ
1. พรินเตอร์แบบหัวเข็มหรือด็อทเมตริกซ์ เป็นพรินเตอร์ชนิด impact หรือ แบบใช้แรงกระแทกทำให้เกิดผลงานพิมพ์ขึ้นมา ทำงานโดยใช้หัวพิมพ์แบบหัวเข็ม กระแทกหัวเข็มลงบนผ้าหมึก ทำให้เกิดข้อความหรือรูปภาพบนกระดาษ ใช้กระดาษแบบต่อเนื่องได้ ปัจจุบันนิยมใช้ในสำนักงานสำหรับการออกเอกสารใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น จุดเด่นคือ เป็นพรินเตอร์แบบเดียวที่สามารถพิมพ์เอกสารที่มีสำเนาในตัวได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วและประหยัด เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ที่ถูกที่สุด
2. พรินเตอร์แบบเลเซอร์ เป็นพรินเตอร์ชนิด non-impact หรือ ไร้แรงกระแทก หลักการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร ใช้ลูกกลิ้งรีดผงหมึกลงบนกระดาษและรีดทับด้วยความร้อนให้ผงหมึกละลายติดบน กระดาษ ให้ผลงานพิมพ์ที่รวดเร็วและมีเสียงการทำงานที่เงียบ จุดเด่นคือ ให้งานพิมพ์ที่คมชัดที่สุด
3. พรินเตอร์แบบอิงค์เจ็ท เป็นพรินเตอร์ชนิด non-impact เหมือน กับพรินเตอร์แบบเลเซอร์ ทำงานด้วยการพ่นน้ำหมึกลงบนกระดาษ มีจุดเด่นหลายอย่าง เช่น พิมพ์สีได้ในราคาประหยัด ให้ความละเอียดที่ดี เหมาะกับการพิมพ์รูปภาพสี่สี พิมพ์บนวัสดุได้หลายแบบ เช่น กระดาษธรรมดา กระดาษอาบมันแบบภาพถ่าย หรือบนแผ่นพลาสติก นับเป็นพรินเตอร์ที่ใช้งานได้แบบเอนกประสงค์เลยทีเดียว ปัจจุบันมีราคาไม่แพงเหมือนเมื่อก่อน และมีหลายรุ่นหลายระดับให้เลือกตามความต้องการของผู้ใช้ จึงเป็นพรินเตอร์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด
เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทในปัจจุบัน
พรินเตอร์แบบอิงค์เจ็ทมีอยู่หลายชนิด ใช้ในงานพิมพ์หลายอย่าง เช่น ในอุตสาหกรรมการผลิต ใช้พิมพ์ป้ายฉลากลงบนตัวสินค้าเลย ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ใช้พิมพ์ป้ายโฆษณา เป็นต้น เนื่องจากจุดเด่นคือ พิมพ์ได้บนวัสดุหลายชนิดโดยที่ไม่ต้องสัมผัสชิ้นงาน สำหรับพรินเตอร์แบบอิงค์เจ็ทที่ใช้กับคอมพิวเตอร์พีซีนั้น เป็นพรินเตอร์อิงค์เจ็ทชนิด Drop On Demand แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. แบบ Thermal
2. แบบ Piezo Electric
พรินเตอร์อิงค์เจ็ททำงานอย่างไร
พรินเตอร์อิงค์เจ็ท ส่วนประกอบหลักในการทำงานมีอยู่ 3 อย่าง คือ ตัวเครื่องพรินเตอร์ หัวพิมพ์ และน้ำหมึกที่เก็บไว้ในตลับหมึก พรินเตอร์แบบ Thermal ส่วนใหญ่ จะมีหัวพิมพ์รวมอยู่ด้วยในตัว เมื่อน้ำหมึกหมดก็จะเปลี่ยนตลับหมึกใหม่พร้อมกับหัวพิมพ์ไปเลย
วิธีการสร้างผลงานของพรินเตอร์อิงค์เจ็ท จะใช้วิธีพ่นน้ำหมึกลงบนกระดาษ ในหัวพิมพ์แต่ละชุดจะประกอบด้วยหัวพ่นน้ำหมึกขนาดเล็กมากๆ (เล็กกว่าเส้นผม) จำนวนประมาณ 48 หัวพ่น หรือมากกว่านั้น และเมื่อสั่งงานพิมพ์ จะส่งสัญญาณกระแสไฟฟ้าไปยังหัวพิมพ์ สั่งให้หัวพ่นแต่ละตัวทำงานพ่นน้ำหมึกออกมาเป็นจุดเล็กๆ ผสมกันเป็นรูปร่างขึ้นมา ด้วยวิธีการนี้จึงสามารถพิมพ์สีได้ โดยใช้หัวพ่นพ่นน้ำหมึกแม่สีแต่ละสีออกมาผสมกันบนกระดาษ กระดาษที่ใช้กับพรินเตอร์อิงค์เจ็ทจึงควรเป็นกระดาษที่เนื้อดีพอสมควรที่ น้ำหมึกจะไม่ซึมได้ง่าย
เทคโนโลยีการพิมพ์ของพรินเตอร์ Epson
ใช้หลักการทำงานของหัวพิมพ์แบบ Piezo Electric หัวพ่นน้ำหมึกทำงานด้วยการสั่นสะเทือนของผลึก Piezo Electric Crystals เมื่อ ได้รับกระแสไฟฟ้าจะสั่นสะเทือนและพ่นน้ำหมึกออกมา ลักษณะคล้ายกับการบีบขวดให้น้ำหมึกพุ่งออกมาจากขวด ข้อดีของหัวพ่นหรือหัวพิมพ์แบบนี้คือ ความเร็วสูงกว่า และขนาดของหยดหมึกจะเล็กกว่า ทำให้ได้ความละเอียดสูง เหมาะกับการพิมพ์รูปภาพ หัวพิมพ์แบบนี้ใช้ในพรินเตอร์ของ Epson หัว พิมพ์จะติดอยู่ในเครื่องเลยและถอดเปลี่ยนเฉพาะตลับหมึก ควรดูแลพรินเตอร์เป็นพิเศษ อย่าให้หัวพิมพ์อุดตัน เพราะเราไม่สามารถถอดหัวพิมพ์ออกมาเปลี่ยนหรือทำความสะอาดได้เอง
เทคโนโลยีการพิมพ์ของพรินเตอร์ HP, Canon, Lexmark , Apollo, Compaq, Sumsung, และ Sharp ใช้หลักการทำงานของหัวพิมพ์แบบ Thermal ทำ งานด้วยวิธีสร้างความร้อนที่สูงกว่าจุดเดือดของน้ำหมึกให้แก่น้ำหมึก ในหัวพ่นแต่ละหัวจะมีขดลวดสร้างความร้อนจากกระแสไฟฟ้าหรือฮีทเตอร์ เมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าเข้ามาความร้อนจะทำให้น้ำหมึกขยายตัวและพุ่งออกมาจาก หัวพ่น ลักษณะคล้ายกับการเผาหลอดฉีดยาที่มีน้ำอยู่เต็ม (Canon เรียกการทำงานแบบนี้ว่า Bubble Jet) การทำงานจะช้ากว่าแบบ Piezo Electric เนื่องจากต้องรอจังหวะให้น้ำหมึกเย็นลงก่อนการทำงานในรอบต่อไป หัวพิมพ์แบบนี้มีอายุการใช้งานสั้นกว่าแบบ Piezo Electric และมีโอกาสเสียได้ง่ายมาก เมื่อใช้งานหัวพิมพ์ในขณะน้ำหมึกหมด จะทำให้ฮีทเตอร์ร้อนจัดเกินไปจนหมดสภาพการใช้งาน
ดังนั้นเพื่อให้ได้คุณภาพงานพิมพ์ที่คงที่สม่ำเสมอและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้งานหัวพิมพ์จนฮีทเตอร์เสีย พรินเตอร์แบบ Thermal จึง มักจะทำตลับหมึกให้มีหัวพิมพ์รวมอยู่ในชุดเดียวกันเลย เมื่อเปลี่ยนตลับหมึกก็จะได้หัวพิมพ์ชุดใหม่ ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียไปในตัว ข้อเสียก็คือ ตลับหมึกจะมีราคาแพง เพราะรวมกับหัวพิมพ์ด้วย
ในพรินเตอร์บางรุ่น จะแยกหัวพิมพ์และตลับหมึกออกจากกัน ช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น โดยเปลี่ยนเฉพาะตลับหมึกที่หมดจนกว่าหัวพิมพ์จะหมดอายุการใช้งาน หลังจากนั้นจึงซื้อหัวพิมพ์พร้อมตลับหมึกชุดใหม่มาเปลี่ยนแทนได้ด้วยตัวเอง
น้ำหมึกอิงค์เจ็ทสร้างภาพออกมาได้อย่างไร
น้ำหมึกอิงค์เจ็ทที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปนั้น เป็นน้ำหมึกชนิด Water-based หรือ หมึกน้ำ ซึ่งมีส่วนผสมหลักคือ น้ำ ดังนั้นจึงสามารถละลายได้ในน้ำ ข้อดี คือ ใช้งานและดูแลทำความสะอาดได้ง่าย ผิดกับ ชนิด Oil-based ที่มีส่วนผสมหลักคือ น้ำมัน ซึ่งกันน้ำได้ แต่ดูแลรักษาทำความสะอาดยาก จึงเหมาะกับใช้ในงานอุตสาหกรรมมากกว่า
ถ้าเราแบ่งน้ำหมึกอิงค์เจ็ทตามส่วนประกอบที่ทำให้เกิดสีขึ้นมา จะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. แบบ Pigment ลักษณะเป็นสารแขวนลอย ที่ประกอบด้วยผงสีขนาดเล็กมาก มีขนาดของอนุภาคเม็ดสีประมาณ 50 –100 ไมครอน (หัวพ่นหมึกมีขนาดประมาณ 70 ไมครอน) เวลาน้ำหมึกถูกพ่นออกมา ส่วนใหญ่จะเกาะติดอยู่บนพื้นผิวกระดาษไม่ซึมลงไป มีข้อดี คือ ทนน้ำ ทนแดดได้ดี มีข้อเสีย คือ ทึบแสง แห้งช้า จึงนำมาใช้เป็นหมึกสีดำที่นิยมใช้กับงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการความคงทน ถ้านำมาใช้ในงานพิมพ์สี่สี จะให้สีสันที่ไม่ค่อยสดใสเท่าไรนัก เนื่องจากทึบแสงและสร้างเฉดสีได้จำนวนน้อยกว่า
2. แบบ Dye-based ลักษณะเป็นสารละลาย มีขนาดอนุภาคเม็ดสีน้อยกว่า 50 ไมครอน ซึ่งเล็กกว่าแบบ Pigment การ ทำงานจะเป็นการซึมลงไปย้อมเส้นใยของกระดาษให้เปลี่ยนสีไป ข้อดี คือ ให้สีสันที่สดใส สร้างหยดหมึกได้ขนาดเล็กกว่า และยังผสมกันสร้างเฉดสีได้จำนวนมากกว่าอีกด้วย จึงเหมาะกับการพิมพ์สี่สี เช่น รูปภาพ เป็นต้น ข้อเสีย คือ ทนน้ำทนแดดสู้แบบ Pigment ไม่ได้ โดยทั่วไป น้ำหมึกอิงค์เจ็ท สี C, M, Y จะเป็นน้ำหมึกแบบ Dye-based
วิธีการสร้างหรือผสมสีของพรินเตอร์อิงค์เจ็ทจะแตกต่างไปจากการสร้างสีของจอภาพหรือมอนิเตอร์ ในมอนิเตอร์จะใช้แม่สี R, G, B (Red, Green, Blue) ซึ่งแตกต่างกับของพรินเตอร์ที่ใช้แม่สี C, M, Y, K (Cyan, Magenta, Yellow, Black) ดัง นั้น สีที่เราเห็นบนมอนิเตอร์กับที่พรินเตอร์พิมพ์ออกมาจึงอาจจะไม่เหมือนกัน เท่าไรนัก ในพรินเตอร์รุ่นเล็กราคาถูกบางรุ่น จะใช้งานตลับหมึกได้ครั้งละตลับ คือตลับหมึกดำ หรือตลับหมึกสี การสร้างสีดำเมื่อใช้งานตลับหมึกสี จะใช้แม่สี C, M, Y มาผสมกันให้เป็นสีดำ สีสันและความเร็วที่ได้จึงสู้พรินเตอร์ที่ใช้ตลับหมึกคู่ (สีและดำ) พร้อมกันไม่ได้
แม่สีหลักๆ ของน้ำหมึกอิงค์เจ็ท มีดังนี้
สี Cyan หรือเรียกย่อว่า C เป็นสีระหว่างเขียวกับน้ำเงิน
สี Magenta หรือเรียกย่อว่า M เป็นสีม่วงแดงเข้มหรือบางคนเรียกว่าสีบานเย็น
สี Yellow หรือเรียกย่อว่า Y คือ สีเหลือง
สี Black หรือเรียกย่อว่า K (BL) คือ สีดำ ในพรินเตอร์ที่ใช้ตลับหมึกสีเพียงตลับเดียวจะใช้แม่สี C,M,Y มาผสมกันเป็นสีดำ
แม่สีเหล่านี้จะถูกพ่นออกมาให้ผสมกันบนกระดาษในปริมาณที่แตกต่างกันทำให้ เกิดเป็นเฉดสีขึ้น หยดหมึกที่พ่นออกมาอาจจะพ่นลงบนจุดเดียวกันหรือพ่นลงเป็นจุดเล็กๆ แยกกัน และหลอกสายตาเราให้ดูกลมกลืนเหมือนเป็นจุดเดียวกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักณะของรูปภาพที่เราพิมพ์และเทคโนโลยีในการสร้างสีของ พรินเตอร์แต่ละรุ่น
ตารางแสดงส่วนผสมโดยประมาณของแม่สีต่างๆ
สี แม่สี Cyan แม่สี Magenta แม่สี Yellow แม่สี BlacK
น้ำเงิน 100% 100%
แดง 100% 100%
เขียว 100% 100%
น้ำตาล 100% 100% 50%
ส้ม 50% 100%
ชมพู 100% 50%
น้ำเงินเข้ม 100 100% 50%
จะเห็นได้ว่า สีหลักๆ ที่เรานิยมใช้สร้างงานกันนั้น อย่างน้อยต้องประกอบด้วยแม่สี 2 สี ถ้าแม่สีใดหมดไปก่อน งานพิมพ์ที่ออกมาจะมีสีไม่ตรงกับความต้องการของเรา
น้ำหมึก Original และ น้ำหมึก Refill คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
ในการใช้งานพรินเตอร์อิงค์เจ็ทนั้น ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ ค่อนข้างจะสูงหรือสูงที่สุดเลยในบรรดาพรินเตอร์ที่นิยมใช้กันทั้ง 3 ชนิด ค่าตลับหมึกที่เราเปลี่ยนแต่ละครั้งนั้น พอๆ กับซื้อพรินเตอร์ใหม่เลยทีเดียว เราจึงจำเป็นต้องหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่งให้ประหยัดขึ้น ด้วยวิธีนำตลับหมึกที่ใช้จนน้ำหมึกหมดไปแล้วมาเติมหมึกใหม่อีกครั้งหนึ่ง หรือเรียกสั้นว่า Refill
ดังนั้น เราจึงแบ่งการเรียกน้ำหมึกอิงค์เจ็ท ได้อีก 2 แบบ คือ
น้ำหมึก Original เป็นน้ำหมึกที่อยู่ในตลับหมึกใหม่เอี่ยมจากผู้ผลิตพรินเตอร์เอง ตามปกติ เมื่อเราซื้อน้ำหมึก Original นี้ เราจะได้ตลับหมึกและหัวพิมพ์ใหม่ๆ แถมมาด้วย หมายความว่า เขาจะขายพร้อมกับตลับหมึกนั่นเอง จะไม่ทำเฉพาะน้ำหมึกแยกออกมาต่างหาก
น้ำหมึก Refill คือ น้ำหมึกจากผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่ผลิตน้ำหมึกมาให้เราใช้สำหรับเติมหมึกลงไปในตลับเก่าที่ใช้จนหมึก Original หมด ไปแล้วนั่นเอง และมีส่วนผสมใกล้เคียงและเข้ากันได้กับน้ำหมึกเดิมในตลับ แต่อาจมีคุณสมบัติด้านสีสันหรือความคงทนแตกต่างไปเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละราย
นอกจากนี้ ยังมีตลับหมึกอีกประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่า ตลับหมึก Refilled หรือ Recycled หรือ Remanufactured ซึ่งก็คือ ตลับหมึกใช้แล้วที่นำมาเติมหมึกใหม่ และผ่านการทดสอบการใช้งาน จากนั้น จึงบรรจุกล่องมาจำหน่าย ราคาก็จะถูกกว่าตลับหมึก Original แต่คุณภาพก็ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้จำหน่ายแต่ละราย และก็ยังมีตลับหมึกชนิด Compatible ซึ่งก็คือ ตลับหมึกที่ผลิตขึ้นมาใหม่เลยจากผู้ผลิตรายอื่นๆ เพื่อใช้งานทดแทนตลับหมึก Original เพื่อให้เราได้เลือกใช้ในราคาที่ถูกกว่า ส่วนคุณภาพนั้น ก็ขึ้นอยู่กับน้ำหมึกที่นำมาใช้เหมือนกัน
ในอดีต พรินเตอร์ชนิดหัวเข็มหรือ Dot Matrix ก็ มีปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้เหมือนกัน แต่ข้อดีของพรินเตอร์แบบนี้ก็คือ เรายังใช้ผ้าหมึกที่หมดจนสีซีดแล้วไปได้เรื่อยๆ จนกว่าเราจะทนไม่ไหว หลังจากนั้น จึงมีทั้งตลับผ้าหมึกใหม่จากผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่ใช้ได้เทียบเท่ากันแต่ราคาถูกกว่าของแท้มาก ให้เราได้ใช้กัน รวมไปถึงยังมีเฉพาะผ้าหมึก Refill ให้เราได้เปลี่ยนเฉพาะผ้าหมึกเก่าอีกด้วย ทำให้ประหยัดไปได้มาก จนบัดนี้ ผู้ใช้ส่วนใหญ่หันมาใช้ผ้าหมึกชนิดเทียบเท่าแทนผ้าหมึกของ Original แท้ๆ กันมากกว่าเสียอีก คาดว่า พรินเตอร์แบบอิงค์เจ็ท ก็กำลังดำเนินรอยตามแนวทางนี้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ใช้พรินเตอร์บางรุ่นที่หาซื้อตลับหมึกใหม่ได้ยาก หรืออยู่ในบางจังหวัดที่หาซื้อตลับใหม่ได้ยากและมีราคาแพงแต่จำเป็นต้องใช้ งาน
เปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสียของการใช้หมึกแบบ Refill
หมึก Orignal หมึก Refill
ซื้อตลับหมึกใหม่ของผู้ผลิตพรินเตอร์มาเปลี่ยน
- ราคาสูงเมื่อเทียบกับราคาพรินเตอร์ นำตลับหมึกเก่าที่ใช้แล้วมาเติมน้ำหมึกลงไปใหม่
- ชะลอการซื้อตลับหมึกใหม่ออกไปได้อีก ช่วยให้ประหยัดกว่าได้ถึง 80% สำหรับการซื้อหมึกเติมชุดแรก ซึ่งเติมได้ 2-3 ครั้ง ขึ้นไป
วิธีการใช้ไม่ยุ่งยาก
- ถอดตลับหมึกเก่าออกและใส่ตลับใหม่ลงไปแทน วิธีการใช้ยุ่งยากกว่า
- เสียเวลาในการเติมหมึก
คุณภาพการพิมพ์คงที่
- ขึ้น อยู่กับสภาพหัวพิมพ์ ซึ่งตลับหมึกส่วนใหญ่จะมีหัวพิมพ์ติดมาด้วยเมื่อเปลี่ยนตลับใหม่จึงได้ คุณภาพการพิมพ์ที่ดีเหมือนเดิม ส่วนรุ่นที่หัวพิมพ์กับตลับหมึกแยกกัน คุณภาพการพิมพ์ก็จะค่อยๆ ลดลงไป เช่นเดียวกับการใช้หมึก Refill คุณภาพการพิมพ์จะค่อยๆ ลดลง
- เนื่องจากใช้หัวพิมพ์เดิม คุณภาพการพิมพ์ที่ได้จึงขึ้นอยู่กับสภาพหัวพิมพ์ ถ้ารักษาสภาพได้ดี คุณภาพการพิมพ์จะใกล้เคียงกับของ Original
ความคงทน และสีสัน เป็นไปตามมาตรฐานของผู้ผลิตพรินเตอร์ อาจจะดีกว่าหรือด้อยกว่าเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำหมึก Refill ของผู้ผลิตแต่ละราย ส่วนเรื่องสีสันอาจขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้
ความคุ้มค่าในการใช้งาน
- สิ้นเปลืองกว่า โดยเฉพาะตลับหมึกสี เมื่อสีใดหมดไปแล้วจะใช้งานต่อไปไม่ได้ ความคุ้มค่าในการใช้งาน
- ถ้าใช้งานหัวพิมพ์ตามปกติแล้วจะใช้เติมได้มากกว่า 5 ครั้ง ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าหลายเท่าตัว
ข้อควรระวังสำหรับการใช้หมึก Refill อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การรับประกันพรินเตอร์
ตามปกติเมื่อเราซื้อพรินเตอร์มาใหม่ ผู้ขายจะรับประกันพรินเตอร์ให้เราอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นเวลา 1 ปี ควรดูเงื่อนไขในการรับประกันเสียก่อนว่าเป็นอย่างไร จะรับประกันในทุกกรณีหรือไม่ หรือว่าจะไม่รับประกันในทุกกรณีเลยถ้าหากว่าผู้ใช้นำเอาหมึก Refill มาใช้ หรือว่าพิจารณาดูสาเหตุก่อนว่าความเสียหายของพรินเตอร์มาจากการใช้น้ำหมึก Refill หรือไม่เกี่ยวกัน
เราอาจพิจารณาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของตลับหมึกใหม่ที่เราคาดว่าจะต้องเสียไปตลอดระยะเวลารับประกัน เทียบกับค่าน้ำหมึก Refill รวมกับค่าตลับหมึกใหม่ที่เราจะซื้อน้อยลง รวมไปถึงค่าซ่อมพรินเตอร์ (ที่อาจจะต้องเสียถ้าเคลมประกันไม่ได้) แล้วจึงค่อยตัดสินใจ
ถ้าเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในระยะยาวแล้ว เมื่อเราเปลี่ยนตลับหมึกใหม่เพียงแค่ 2 ครั้ง ก็เท่ากับเราได้พรินเตอร์ตัวใหม่พร้อมตลับหมึก จนอยากจะเรียกใหม่ว่า ซื้อตลับหมึกแถมพรินเตอร์
ดังนั้น ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้งานมากๆ แต่ยังไม่มีรายได้ เช่น นักเรียน นักศึกษา จึงมักจะหันมาใช้หมึก Refill แทนการใช้หมึก Original
ข้อเท็จจริงอีกเรื่องก็คือ สาเหตุที่พรินเตอร์เสียหายจากการใช้น้ำหมึก Refill ก็คือ การเติมที่ผิดวิธี ทำให้น้ำหมึกรั่วออกจากตลับไปทำให้พรินเตอร์สกปรก
ส่วนเรื่องที่ทำให้หัวพิมพ์เสียหายหรืออุดตันนั้น ควรระวังเฉพาะพรินเตอร์ของ Epson เท่านั้น เนื่องจากหัวพิมพ์จะติดอยู่ในเครื่อง เราถอดเปลี่ยนเองไม่ได้และไม่มีขายทั่วไปด้วย
สำหรับพรินเตอร์ยี่ห้ออื่นๆที่ใช้ระบบความร้อนหรือ Thermal นั้น ไม่มีปัญหาเพราะหัวพิมพ์จะอยู่รวมกับตลับหมึกที่พอหมดแล้วทิ้งไป ซึ่งเราจะนำมันกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ถ้าหากเราเติมผิดวิธีทำให้ตลับหมึกเสีย เพียงแต่ซื้อตลับหมึกใหม่ก็จะใช้งานพรินเตอร์ได้ตามปกติ
ประเภทของน้ำหมึก Inkjet
น้ำหมึกของเครื่องอิงก์เจ็ตที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป เป็นชนิดที่เรียกว่า “Dye-based” ซึ่ง มีส่วนผสมหลักคือน้ำ ข้อดีของหมึกพิมพ์ประเภทนี้คือสามารถใช้งาน และดูแลรักษาได้ง่าย เหมาะกับการใช้งานในระดับทั่วๆ ไป จนถึงอุตสาหกรรมงานพิมพ์ขนาดย่อม นอกจากหมึกแบบ Dye แล้วยังมีน้ำหมึกอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “Pigment Ink” ซึ่ง มีคุณสมบัติกันน้ำ และทนแดดทนความร้อนได้ดีกว่า แต่ปัจจุบันน้ำหมึกประเภทนี้ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เพราะมีอนุภาคของน้ำหมึกใหญ่ และมีสีสันสดใสสู้หมึกพิมพ์แบบ Dye-based ไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์หลายๆ ยี่ห้อ เริ่มมีการนำน้ำหมึกทั้งสองแบบ มาประยุกต์ใช้งานร่วมกัน โดยใช้น้ำหมึกแบบ Pigment มาผลิตเป็นหมึกดำที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้ ส่วนหมึกสีซึ่งประกอบไปด้วย Cyan, Magenta และ Yellow นั้นยังคงเป็นน้ำหมึกแบบ Dye-based อยู่ เช่น เครื่องพิมพ์ยี่ห้อ Lexmark เป็นต้น
ต้นทุนการพิมพ์งาน
พรินเตอร์อิงก์เจ็ตถือเป็นเครื่องพิมพ์ที่มีราคาถูกที่สุด แต่ต้นทุนในการพิมพ์งานเฉลี่ยต่อ 1 หน้า กลับสูงกว่าเครื่องพิมพ์ประเภทอื่นอยู่พอสมควร ในการเปลี่ยนตลับหมึกแต่ละครั้งนั้น คิดเป็นเงินหลักพันบาท แต่สามารถพิมพ์งานได้ไม่กี่ร้อยแผ่นเท่านั้น ลองคิดง่ายๆ ว่า ซื้อตลับหมึกใหม่สัก 6 ครั้งก็แทบจะซื้อพรินเตอร์ เครื่องใหม่ได้เลยทีเดียว ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นวิธีการนำตลับหมึกเก่าที่ใช้จนหมดแล้ว มาทำการเติมหมึกเข้าไปภายในตลับใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็คือที่มาของคำว่า “Refill” นั่นเอง
หลักการทำงานของหัวพิมพ์ และตลับหมึกอิงก์เจ็ต
นอก จากหัวพิมพ์ และชนิดของน้ำหมึกที่ใช้แล้ว เรายังต้องให้ความสำคัญกับกลไกของตลับหมึกอิงก์เจ็ตด้วย เพราะตลับแต่ละประเภท ก็ต้องอาศัยเทคนิคการเติมหมึกที่แตกต่างกันออกไป ปัจจุบันตลับหมึกจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ตลับหมึกแบบใช้ความดัน น้ำหมึกจะคงอยู่ในตลับได้เมื่อความดันอากาศในตลับน้อยกว่าหรือเท่ากับความ ดันอากาศภายนอก ขณะใช้งานต้องมีการรักษาความดันอากาศให้สมดุลกับภายนอก น้ำหมึกที่ใช้ไปจะถูกอากาศภายนอกตลับเข้ามาแทนที่ผ่านทางรูระบายอากาศที่ ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ และถ้ารูระบายอากาศนี้เสียหาย หรือตลับหมึกมีรอยรั่ว น้ำหมึกจะรั่วไหลออกมาหมด และตลับนี้เสียหายจะใช้งานต่อไปอีกไม่ได้
ข้อดีของตลับหมึกแบบนี้คือ แม้ว่าตลับจะถูกจัดวางผิดลักษณะอย่างไรก็สามารถใช้งานต่อเนื่องไป ได้ทันที และบรรจุน้ำหมึกได้มาก นิยมใช้เป็นตลับหมึกสีดำ เมื่อเราเติมหมึกในตลับแบบนี้ จำเป็นต้องรักษาความดันในตลับให้สมดุลขณะเติมด้วย มิฉะนั้น จะทำให้ตลับทำงานผิดปกติ หรือเสียหายได้ และหลังจากเติมแล้วจะต้องใช้เวลาสักครู่หนึ่งให้ตลับหมึกค่อยๆ ปรับความดันให้สมดุลก่อนจึงจะใช้งานได้
2. ตลับหมึกแบบใช้ฟองน้ำ ในตลับหมึกจะมีก้อนฟองน้ำที่บรรจุน้ำหมึกเอาไว้อยู่ในรูพรุนของฟองน้ำ เมื่อใช้งานน้ำหมึกจะค่อยๆ ไหลซึมลงมายังหัวพิมพ์ตามแรงโน้มถ่วงจนกระทั่งน้ำหมึกหมด ตลับแบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้รูระบายอากาศที่ออกแบบเป็นพิเศษแต่อย่างใด เพียงแค่มีช่องเปิดให้อากาศสามารถเข้าไปแทนที่น้ำหมึกที่ใช้ไปได้ก็พอ
คุณสมบัติ ของตัวฟองน้ำเองจะช่วยอุ้มน้ำหมึกเอาไว้ในตัวมันเอง เมื่อวางตลับหมึกผิดลักษณะปกติ เช่นหงายตลับขึ้นให้หัวพิมพ์อยู่ด้านบน น้ำหมึกก็จะไม่ไหลออกมาทันที แต่จะค่อยๆ ซึมออกมาเนื่องจากคุณสมบัติของฟองน้ำจะต้านน้ำหมึกไว้ ในทางกลับกันเวลาเติมหมึกก็จำเป็นต้องบรรจุน้ำหมึกให้อยู่ใกล้หัวพิมพ์ที่ สุดเพื่อให้ใช้งานได้ต่อไปได้ทันที
ตลับ หมึกแบบนี้จึงนิยมใช้กับน้ำหมึกสี เพราะมีขนาดเล็ก จุดอ่อนของตลับหมึกแบบฟองน้ำอย่างหนึ่งคือ หากฟองน้ำบรรจุน้ำหมึกจนอิ่มตัว น้ำหมึกส่วนเกินจะค่อยๆ เยิ้มออกมาทางหัวพิมพ์อย่างช้าๆ โดยที่เราไม่ทันได้สังเกต ทำให้การทำงานผิดปกติไป เช่น สีเพี้ยนเนื่องจากน้ำหมึกส่วนเกินซึมเข้าไปผสมกับน้ำหมึกสีอื่นข้างเคียง ผ่านทางหัวพิมพ์ และก็มีผลทำให้หัวพิมพ์อุดตันจากน้ำหมึกที่แห้งได้บ่อยๆ จนกว่าระดับน้ำหมึกในตลับจะอยู่ในระดับปกติ งานพิมพ์จึงจะกลับมาเหมือนเดิม
รวมทิปสำหรับเรื่องการพิมพ์
1. สั่งพิมพ์งานแบบด่วนจี๋
แค่ คลิกเมาส์ขวาที่ไฟล์ที่ต้องการจะพิมพ์ แล้วเลือก Print จากนั้นโปรแกรมหลักของไฟล์นั้นๆ ก็จะถูกเรียกขึ้นมาพร้อมกับสั่งพิมพ์งานให้ทันที เมื่อสั่งพิม์เสร็จแล้ว โปรแกรมก็จะปิดตัวเองไปอัตโนมัติ แต่ทั้งนี้แหละทั้งนั้น โปรแกรมหลักของไฟล์นั้นๆ จะต้องถูกติดตั้งพร้อมใช้งานอยู่ด้วยนะครับ ถึงจะใช้คำสั่งนี้ได้
2. เขย่าก่อนใช้
ก่อนจะทำการเปลี่ยนตลับหมึก ที่จะใส่ลงไปบนเครื่องพรินเตอร์ สำหรับอิงก์เจ็ตแล้วต้องทำการเขย่าตลับหมึกก่อนเพื่อให้หมึกมารวมตัวกัน ก่อน เพื่อให้หัวพรินเตอร์ ทำการตรวจสอบหมึกภายในตลับได้ง่ายขึ้น
3. สั่งให้เรียงหน้าพิมพ์เอง
อิง ก์เจ็ตส่วนใหญ่ จะไหลงานพิมพ์มาด้านหน้า ซึ่งเวลาสั่งพิมพ์งานหลายๆ หน้า เราต้องมาเรียงหน้าใหม่ทุกครั้งเพราะหน้าสุดท้ายจะมาอยู่ด้านบนเสมอ
แต่เครื่องรุ่นใหม่ๆ จะมีฟังก์ชันนี้ Reverse Order ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่กำหนดให้การสั่งพิมพ์เริ่มต้นจากหน้าสุดท้ายมายังหน้า แรกครับ ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลามาเรียงหน้าใหม่อีกครั้ง
4. ควรใช้กระดาษให้เหมาะสมกับงาน
เช่น หากเป็นงานเอกสารธรรมดา แค่ใช้กระดาษที่วางขายทั่วไปก็พอ แต่หากคุณต้องพิมพ์งานที่ต้องการความปราณีต เช่น พิมพ์รูปภาพ กระดาษที่ใช้ก็ควรเป็นกระดาษแบบโฟโต้เนื่องจากจะทำให้หมึกไม่แตกเมื่อพิมพ์ ลงไป และสามารถคงคุณภาพได้นานกว่ากระดาษทั่วไป ซึ่งจะจางลงภายในเวลาไม่นาน และเมื่อพิมพ์งานออกมาแล้วควรเก็บชิ้นงานให้มิดชิดหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนแสง แดดเพราะจะทำให้ซีดเร็ว
5. พิมพ์ภาพหน้าเดสก์ท็อปอย่างง่าย
คุณ เองก็สามารถจับภาพและพิมพ์หน้าจอที่มองเห็นจากมอนิเตอร์ได้เหมือนกับมือ อาชีพ ด้วยฟังก์ชัน Print Screen ลองมองไปที่ปุ่มด้านบนๆ ของคีย์บอร์ด คุณจะเห็นปุ่ม Print Screen หรือ Prnt Scrn อยู่ เราจะใช้เจ้าปุ่มนี้แหละจับภาพหน้าจอ โดยเมื่อกดปุ่ม Print Screen ภาพหน้าจอของคุณจะถูกก๊อบปี้ไปไว้ใน คลิปบอร์ดชั่วคราว แต่ยังสั่งพิมพ์ไม่ได้จนกว่าคุณจะนำไป paste ในโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง สมมติว่าเราใช้ Paint โดยเมื่อ paste ลงใน Paint แล้วก็สามารถพิมพ์หน้าจอของคุณได้แล้ว แต่หากต้องการจับภาพเฉพาะหน้าต่างๆ บนสุด ก็ทำได้อย่างง่ายดายเช่นกัน โดยแค่กด Alt + Print Screen แล้วก็นำไป paste เหมือนเดิม
6. สั่งเก็บงานหากต้องการพิมพ์บ่อยๆ
หาก คุณต้องการพิมพ์งานชิ้นหนึ่งบ่อยๆ แต่กว่าจะทำได้ก็ต้องหาไฟล์ เปิดไฟล์ด้วยโปรแกรม แล้วจึงเข้าเมนู Print แล้วไหนจะต้องมาตั้งค่าอื่นๆ อีก ถ้าต้องทำบ่อยๆ ถ้าต้องทำบ่อยๆ คงไม่ใช่เรื่องสนุกแน่ๆ ดังนั้นมาใช้วิธีง่ายๆ ที่ผมจะบอกดีกว่า โดยไปที่ Printer Properties แล้วไปที่แท็ป Advanced แล้วเลือก Keep printed documents ไฟล์นั้นก็จะคงอยู่จนกว่าเราจะลบมันทิ้งไปเอง เวลาต้องการจะพิมพ์ซ้ำก็ให้ไปเข้าที่ Start >Printers and Faxes แล้วดับเบิ้ลคลิ้กเพื่อเข้าหน้าต่างของ Printer แล้วคลิ้กขวาที่ไฟล์ที่ต้องการจะพิมพ์ซึ่งควรจะมีอยู่แล้ว เลือก Restart หรือเพื่อความสะดวกให้สร้าง Shortcut ของ Printer ไว้โดยเข้าไปที่ Start > Printers and Faxes แล้วคลิ้กขวาที่ Printer แล้วเลือก create Shortcut ไว้ที่หน้าเดสก์ท็อป ก็จะสะดวกมากขึ้น
7. เพิ่มเครื่องพิมพ์เมนู Send To
วิธี สร้างชอร์ตคัตใน Send To ทำได้ง่ายๆ โดยเมื่อเราได้ชอร์ตคัตจากข้อที่แล้ว ก็ให้เอาชอร์ตคัตที่สร้างไปไว้ในโฟลเดอร์ชื่อ Send To สำหรับ Windows 9X จะอยู่ที่ C:\ Windows \ SendTo ส่วน Windows XP จะอยู่ที่ C:\Documents and Settings \ <ชื่อยูสเซอร์ของคุณ> \ SendTo แต่คุณอาจไม่เห็นเพราะมันจะถูกซ่อนอยู่ ก็ให้พิมพ์ชื่อ Send To ต่อท้ายไดเรกทอรีลงไปที่ช่อง Address เลยก็ได้
8. สร้างโปรไฟล์ไว้พิมพ์งานหลายๆ แบบ
ใน บางครั้งเราต้องพิมพ์งานหลายๆ รูปแบบ แต่ต้องมาคอยเปลี่ยนออปชันเวลาจะพิมพ์งานชิ้นหนึ่ง ก็ทำให้ยุ่งยากใช่มั้ยล่ะครับ วิธีแก้ง่ายๆ คือการสร้าง Profile ซึ่งโดยปกติแล้วซอฟต์แวร์เครื่องพิมพ์ มักจะมี options ให้เราสามารถเพิ่ม/ลด/แก้ไข Profile ได้ แต่หากเครื่องพิมพ์ของคุณไม่มีก็ไม่เป็นไรครับเรามาสร้าง Profile ด้วยตัวเองกันดีกว่า เริ่มจากไปที่ Start > Control Panel > Printer and Other Hardware > Add a Printer จะมีหน้าต่าง Add Printer Wizard ขึ้นมา ก็ให้กด next ไปเรื่อยๆ จนมาถึงหน้าต่างที่มีคำว่า Name Your Printer ก็ให้ตั้งชื่อเป็น Profile ที่เราต้องการครับ (เช่น Color printer สำหรับพิมพ์งานสีอย่างเดียว เป็นต้น) พอเรา Add Printer ได้แล้วก็ให้คลิกขวาที่ Printer ที่เราเพิ่งจะเพิ่มไปสักครู่ แล้วไปที่ Printing Preferences… หรือไปที่ Properties > Printing Preferences ก็ได้ครับ แล้วก็ตั้งค่าได้ตามใจชอบเลยว่าอยากให้เครื่องพิมพ์ตัวนี้มีรูปแบบการพิมพ์ ยังไง เสร็จแล้วก็กด Ok เป็นอันเรียบร้อยครับ จากนั้นก็เพิ่มเครื่องใหม่อีกเรื่อยๆ ตามความต้องการและงานที่อยากให้ทำ
9. ประโยชน์ของ Print to file
Print to File จะอยู่ในหน้าต่างที่เราตั้งค่าก่อนพิมพ์ครับ เมื่อเลือก Print to file แล้วงานของคุณจะถูกเก็บด้วยนามสกุล .prn ปกติเวลาพิมพ์งาน เครื่องพิมพ์จะสร้างไฟล์ .prn เสมอ เพียงแต่ไม่ได้สร้างให้เห็น และไม่ได้เก็บไว้ แล้ว .prn มีไว้ทำไม? คำตอบคือ มีไว้เก็บข้อมูลที่จะส่งไปให้เครื่องพิมพ์ ว่าเอกสารนี้ใช้ ฟอนต์อะไร มีกี่หน้า ตั้งค่าหน้ากระดาษอย่างไร ฯลฯ สรุปก็คือ เป็นสื่อกลางระหว่างพีซีกับเครื่องพิมพ์นั่นเอง ประโยชน์ของมันก็คือไฟล์ .prn นี้สามารถพิมพ์ได้ทันที โดยไม่ต้องเปิดโปรแกรม text editor เลย ดั้งนั้นหากพิมพ์จากไฟล์ .prn ไม่ว่าจากที่ใด ก็จะได้งานที่เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน แต่ปัญหาก็คือถ้าเปิดไฟล์ .prn ด้วย text editor ก็จะออกมาเป็นภาษาอะไรก็ไม่รู้ ดังนั้นการพิมพ์ไฟล์ .prn จึงต้องใช้โปรแกรมพิเศษ อย่าง MS Office Document Imaging ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรแกรม MS Office นั่นเอง
10. ลองเปลี่ยนมาใช้หมึกทางเลือกดูบ้าง
ถ้า งานพิมพ์ของคุณไม่ได้เจาะจงว่าต้องสวยสด และสีต้องเที่ยงตรงเป๊ะๆ แล้วล่ะก็ ลองหันมาใช้หมึกทางเลือกอย่างพวก Refill หรือ Compatible ink ดู ก็เป็นตัวเลือกที่ประหยัดเงินในกระเป๋าคุณได้มาก เพราะหมึกเติมคุณภาพดีๆ นั้นอย่างไรก็มีราคาถูกกว่าหมึกแท้หลายเท่า เพียงแต่เพื่อความปลอดภัยของเครื่องพิมพ์ เรามีข้อแนะนำสำหรับการใช้หมึกเติมดังนี้
* ลองปรึกษาหรือหาข้อมูลเกี่ยวกับการใชหมึกเติมเสียก่อน ก่อนที่จะพิจารณาเติมหมึกยี่ห้อใดๆ เพื่อดูว่าคนนิยมใช้หมึกเติมยี่ห้อใดมากที่สุดและมีปัญหาน้อยที่สุด
* การเติมหมึกในแต่ละครั้ง ควรใช้ยี่ห้อเดียวกันไปจนกว่าจะเปลี่ยนตลับใหม่ เพราะเคมีของหมึกแต่ละยี่ห้อมักจะไม่เหมือนกัน การเติมหมึกคละยี่ห้อไปมา ในตลับเดิมๆ อาจทำให้เกิดปัญหากับหัวพิมพ์ได้
* ลองเลือกเติมหมึกกับบริษัทที่มีการรับประกันน่าเชื่อถือ เช่น รับประกันความเสียหายของเครื่องพิมพ์ หรืองานพิมพ์เพราะอย่างน้อยคุณก็ยังมีคนรับภาระให้ ถ้าเกิดไปเติมหมึกมาแล้วมีปัญหากับเครื่องตามมา
ทิปพิมพ์งานจากยูทิลิตี้เล็กๆ แต่เก่งเกินตัว
การหาโปรแรม ให้เข้า www.google.com แล้ว Search คำว่า Download (ชื่อโปรแกรม) ตัวอย่างเช่น download Inksaver 2.0 เป็นต้น
1. Inksaver 2.0 หมึกเท่าเดิม แต่พิมพ์เพิ่มได้เป็นร้อยหน้า
โปรแกรม Inksaver คือโปรแกรมที่ช่วยให้คุณประหยัดหมึกได้อย่างเห็นผล ขอแนะนำให้ใช้โปรแกรมนี้ ควบคู่ไปกับงานพิมพ์เอกสาร เพราะคุณสามารถใช้โปรแกรมนี้ไปปรับแต่งความเข้มหรืออ่อนของตัวหนังสือได้ อย่างยืดหยุ่นมากกว่าการปรับจากโปรไฟล์ของเครื่องพิมพ์เองด้วยซ้ำ และทุกครั้งที่ปรับเปอร์เซน์ความเข้มของงานพิมพ์ ตัวโปรแกรมจะคำนวณให้คุณได้เห็นจะๆ ในทันทีว่า คุณจะประหยัดหมึกไปได้กี่เปอร์เซนต์ และประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับหมึกแต่ละตลับไปได้อีกกี่บาท
ตัวโปรแกรมพัฒนาอยู่ตลอด ล่าสุดถึงเวอร์ชัน 2.0 แล้วซึ่งเจ้าตัวโปรแกรมนี้ก็รู้จักเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตในตลาดเกือบทุกรุ่นเลยทีเดียว
2. iCabon จับพรินเตอร์กับสแกนเนอร์ มาทำเป็นเครื่องถ่ายเอกสารเสียเลย
โปรแกรม ขนาดจิ๋วที่จะทำให้ printer + scanner = copier ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องมีทั้งสแกนเนอร์ และพรินเตอร์ที่ติดตั้งพร้อมใช้งานแล้วอย่างละ 1 ตัว เป็นอย่างน้อย วิธีใช้ก็แสนง่ายเมื่อคุณลงโปรแกรมเสร็จแล้ว โปรแกรมจะตั้งค่าสแกนเนอร์และพรินเตอร์ให้เอง งานของคุณก็แค่ตั้งค่าต่างๆ ได้แก่ จำนวนสำเนาที่ต้องการ (Number of copies) ขนาดย่อ- ขยาย (Zoom) ค่าความเข้มของสำเนา ( contrast) และรูปแบบการสำเนาสีหรือขาวดำ (Type of copy) ส่วนตัวเลือก Quality ในเวอร์ชันทดลองนี้ยังปรับค่าไม่ได้ เมื่อตั้งค่าต่างๆ แล้ว กดปุ่มขนาดใหญ่ ด้านซ้ายเป็นอันเสร็จครับ
โปรแกรม นี้มีขนาดเล็กใช้งานง่ายเหมาะสำหรับการสร้างเครื่องถ่ายเอกสารใช้เอง คุณภาพที่ออกมาก็ใกล้เคียงกับร้านถ่ายเอกสารทีเดียว เหมาะสำหรับใครที่มีทั้งพรินเตอร์และสแกนเนอร์อยู่แล้ว จะได้เอามาใช้ร่วมกันให้คุ้มค่ามากขึ้นนะครับ
3. InkMonitor จับตาดูหมึกให้ดี
เป็น โปรแกรมที่จะวัดปริมาณหมึกที่เหลืออยู่ และยังสามารถเรียกดูรายการพิมพ์ต่างๆได้ เมื่อคุณติดตั้งเสร็จ โปรแกรมจะปรากฏเป็นไอคอนอยู่ที่ system tray บริเวณเดียวกับนาฬิกาของ windows คุณจะต้องตั้งค่า 2 อย่าง ได้แก่รุ่นของเครื่องพิมพ์ ( printer ) และรุ่นของตลับหมึก ( Cartridge) ทำได้โดยคลิ้กขวาที่ไอคอน InkMonitor แล้วเลือก Program Options…จากนั้นก็ตั้งค่ารุ่นเครื่องพิมพ์และตลับหมึก แล้วคุณก็ลืมมันไปได้เลย เพราะโปรแกรมจะรันเองโดยอัตโนมัติ และจะแสดงปริมาณหมึกทุกครั้งที่มีการสั่งพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถเรียกดูรายการพิมพ์ต่างๆ ที่เคยสั่งพิมพ์ได้อีกด้วย โดยคลิ้กขวาที่ไอคอน InkMonitor แล้วเลือก Printer Details…
การคำนวณ ปริมาณหมึกที่ใช้ไปของโปรแกรมนี้ค่อนข้างแม่นยำเพราะโปรแกรมสามารถระบุได้ ถึงรุ่นเครื่องพิมพ์และรุ่นของตลับหมึกนอกจากนี้ไม่ว่าคุณตั้งค่าการพิมพ์ ไว้อย่างไรตัวโปรแกรมก็จะนำค่าเหล่านั้นมาใช้คำนวณด้วย ดังนั้นเมื่อคุณเปลี่ยนตลับหมึกใหม่คุณควรเข้าไปตั้งค่าตลับหมึกใน InkMonitor ใหม่ทุกครั้ง
4. Photo Paper Saver พิมพ์ภาพสวยๆ แบบคุ้มสุดๆ
ถ้า คุณลงทุนซื้อกระดาษคุณภาพสูงมาเพื่อใช้พิมพ์ภาพถ่าย คุณคงอยากจะใช้ทุกๆ ตารางนิ้วของกระดาษให้คุ้มค่า โปรแกรมนี้ช่วยให้คุณสามารถจัดรูปถ่ายของคุณลงให้เต็มพื้นที่หน้ากระดาษได้ อย่างง่ายดาย
เริ่มต้นเปิดโปรแกรมขึ้นมาคุณก็จัดการเลือกว่าคุณจะพิมพ์ ภาพใดบ้าง การใช้งานก็ง่ายๆ เพราะหน้าตาเหมือนกับ Explorer ของวินโดวส์ เลือกเสร็จแล้วพอถึงหน้าต่าง Select Prints Sizes and Options ให้คุณกด Finish ได้เลยเพื่อเข้าสู่หน้าจอการทำงาน
ด้านล่างของรูปด้านซ้ายจะแสดง ภาพต่างๆ ที่คุณเลือกในรูปแบบ thumbnails ส่วนรูปที่แสดงอยู่คือรูปที่คุณเลือกรูปทางด้านขวามือเป็นรูปที่ขยายออกมา ในส่วนนี้มีไว้เพื่อตั้งขนาดของรูปและจำนวนที่จะพิมพ์ คุณเลือกขนาดได้ตามใจชอบแต่ถ้าขนาดที่มีอยู่คุณไม่พอใจสามารถเข้าไปตั้งค่า ใหม่ได้ที่ Print Sizes->Manage Print Sizes ส่วนจำนวน copies ก็ตามต้องการเลยครับ การใช้โปรแกรมนี้ ตัวโปรแกรมจะพิมพ์ภาพขนาดเท่าต้นฉบับ 1 ภาพเสมอ สมมติเลือกขนาดเป็น 2.50 คูณ 3.50 และcopies เป็น2 แผ่น สิ่งที่จะได้เมื่อสั่งพิมพ์คือรูปขนาดเท่าต้นฉบับ1 ภาพ และขนาดที่เราเลือก 3 ภาพ อยู่บนกระดาษแผ่นเดียวกัน (ถ้าพื้นที่พอ) แต่คุณสามารถเรียกดู print preview ได้จาก เมนู File ครับ
5. PrintPunk พิมพ์เว็บเพจอย่างฉลาด
เป็น โปรแกรมที่จะเพิ่มทูลบาร์เข้าไปที่หน้าต่างของ IE ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการพิมพ์หน้าเว็บเพจให้เก่งขึ้นใครที่เคยสั่งพิมพ์ หน้าเว็บเพจบ่อยๆ น่าจะซึ้งถึงความยากลำบากเป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าคุณจะสั่งพิมพ์แบบไหน หน้าเว็บเพจก็ไม่เคยแสดงผลได้ถูกต้องบนกระดาษที่พิมพ์ออกมาเลยสักครั้ง แต่เมื่อใช้ PrintPunk แล้ว คุณสามารถพิมพ์เว็บเพจทั้งหน้าลงบนกระดาษแผ่นเดียวได้ง่าย โดยที่ไม่มีอะไรขาดหายไปอีกด้วย
สั่งพิมพ์โดยการกดปุ่ม Print ปุ่ม Images กดเพื่อซ่อน/ แสดงรูปภาพบนหน้าเวบเพจนั้น (ถ้าเพื่อว่าคุณต้องการอ่านและพิมพ์เฉพาะข้อความ) ปุ่ม Shrink/Zoom ไว้เพื่อย่อขยายเว็บเพจถ้าตัวหนังสือเล็กหรือใหญ่เกินไป ส่วนปุ่ม Fit/Auto Fit ให้เพื่อปรับขนาดหน้าเวบให้พอดีกับหน้าจอ
6. inePrint ปรับแต่งงานพิมพ์ได้อย่างใจ
โปรแกรม นี้ควรมีติดเครื่องไว้เลยครับ เพราะด้วย FinePrint คุณสามารถพิมพ์เอกสารออกมาได้หลากหลายรูปแบบ และปรับแต่งได้มากกว่าที่ไดรเวอร์เครื่องพิมพ์จะทำได้ เช่น การพิมพ์ 16 หน้าลงในกระดาษ A4 เพียงแผ่นเดียว หรือการพิมพ์เพื่อทำเป็นหนังสือทำมือ การย่อ ขยาย การทำจดหมายข่าว หรือการใส่ลายน้ำให้กับเอกสาร เป็นต้น โปรแกรมนี้เหมาะมากถ้าใช้พิมพ์เอกสารที่มีหลายหน้า เพราะจะประหยัดกระดาษไปอีกเยอะเลยทีเดียว
วิธีการใช้งาน FinePrint นั้น ง่ายมาก เพราะหลังจากติดตั้ง FinePrint แล้วคุณจะได้เครื่องพิมพ์เพิ่มมาใหม่อีก 1 เครื่อง นั่นคือ FinePrint เวลาสั่งพิมพ์งาน คุณเลือกไปพิมพ์ออกที่ FinePrint แทนเครื่องพิมพ์ปกติ จากนั้นโปรแกรมจะป็อบอัพหน้าต่างปรับแต่งของ FinePrint ขึ้นมา หลังจากปรับจนพอในแล้วก็ค่อยสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ปกติอีกทีครับ
7. PrintGhost พิมพ์เป็นภาพดีกว่า
โปรแกรม นี้สามารถที่จะแปลงงานพิมพ์ของคุณให้เป็นภาพ ในฟอร์แมต TIFF,JPG หรือ BMP ได้ ไม่ว่างานพิมพ์นั้นคุณจะสร้างจากโปรแกรม เวิร์ด , เอ็กเซล, พาวเวอร์พอยนต์ หรือเอกสารแบบไหนก็ตาม ซึ่งสะดวกมาก เวลาที่คุณต้องส่งฟอร์มหรือเอกสารไปให้คนอื่นๆ เพราะแทนที่คุณจะต้องพิมพ์มันออกมา แล้วส่งแฟกซ์ หรือเอามาสแกนอีกครั้งให้เสียเวลา คุณก็สั่งพิมพ์หน้าเอกสารออกทาง PrintGhost แล้วส่งมันไปเป็นภาพเลย ถามว่า ทำไมไม่ส่งเอกสารที่เป็น .doc ออกไปเลยล่ะ ? เหตุผลก็เพราะ บางทีคนอื่นๆ อาจไม่ได้ใช้โปรแกรมออฟฟิศเวอร์ชันเดียวกัน หรือมีฟอนต์ที่ไม่ตรงกันนั่นเอง ดังนั้นการส่งออกไปเป็นภาพ จึงรับประกันได้ว่าเมื่อคนเอาไปเปิดหรือพิมพ์ต่อแล้ว การแสดงผลจะไม่ผิดเพี้ยนจากที่เราทำไปอย่างแน่นอน
8. Print Tuner พิมพ์ยังไงก็ถูกใจ
โปรแกรม นี้จะจำลองตนเองเป็นเครื่องพิมพ์หลอกๆ หนึ่งเครื่อง เมื่อคุณสั่งพิมพ์งานออกที่ PrintTuner ตัวนี้ จะมีหน้าต่างหแสดงขึ้นมาให้คุณปรับแต่งงานพิมพ์ได้อย่างยืดหยุ่นได้อีกมาก เช่น ปรับขอบหน้ากระดาษ ย่อหรือขยายขนาดงานพิมพ์ สั่งพิมพ์หรือไม่พิมพ์หน้าใดๆ หรือให้พิมพ์ออกมาเป็นรูปภาพ ได้ถึง 24 ฟอร์แมต ความละเอียดของงานพิมพ์ หรือจะพิมพ์แบบประหยัดหมึกด้วยการ สั่งงานพิมพ์ให้มีตัวหนังสือสีดำให้หมด และสั่งไม่ให้พิมพ์เฉพาะภาพกราฟิก ก็ยังได้อีกด้วย
9. BookPrintXP พิมพ์เป็นเล่ม ประหยัดกว่าเยอะ
โปรแกรม นี้จะช่วยให้คุณพิมพ์งานเอกสารเป็นหนังสือหรือที่เรียกว่า Booklet ได้ง่ายๆ โดยความสามารถของมันก็คือ สามารถสั่งพิมพ์ได้สูงสุด 16 หน้าย่อย ต่อ 1 หน้ากระดาษซึ่งหมายความว่า ถ้าพิมพ์ทั้ง 2 หน้ากระดาษ คุณจะได้หนังสือขนาด 32 หน้า เลยทีเดียว โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ต้องการพิมพ์เท็กซ์บุ๊กเล่มหนา แต่ไม่อยากใช้กระดาษเปลืองมากเกินไป
10. APFill – Ink Coverage Meter คำนวณหมึกให้แม่น
โปรแกรม นี้จะช่วยคำนวณปริมาณหมึกพิมพ์ ต่อการพิมพ์ในแต่ละหน้า ว่าต้องใช้หมึกปริมาณเท่าไร ซึ่งทำให้สามารถวางแผนการพิมพ์ได้ว่า คุณจะพิมพ์หน้าใดก่อนหน้าใดไว้ทีหลัง ในกรณีที่ต้องการประหยัดปริมาณหมึกให้ใช้งานได้อย่างนานและคุ้มค่ามากที่ สุด โปรแกรมนี้ยังสามารถคำนวณปริมาณหมึกพิมพ์สำหรับงานเอกสารและงานกราฟิก ประเภท PostScript ได้ด้วย
11. SSC Service Utility ประหยัดสุดๆ สำหรับคนใช้เอปสัน
ใคร ใช้เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตของเอปสันคงทราบกันดีว่า ตลับหมึกเอปสันนั้นทุกครั้งที่พิมพ์จะมีการนับจำนวนหยดหมึกตลอดเวลา เมื่อนับถึงจำนวนหมึกที่กำหนด (หรือปริมาณหมึกเกือบจะหมด) เครื่องพิมพ์จะล็อกไม่ให้ตลับหมึกนั้นใช้งานได้ต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ใครนำเอาตลับหมึกเก่าไปเติมหมึกมาใช้ใหม่นั่น เอง แต่ด้วยโปรแกรมนี้ คุณสามารถจะรีเซตเคาเตอร์ของตลับหมึกของเอปสันให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม
12. A+ Printer Monitor ใครพิมพ์มากสุด ยกมือขึ้น
โปรแกรม ตัวนี้ แนะนำให้ใช้ในออฟฟิศที่แชร์เครื่องพิมพ์ไว้พิมพ์ร่วมกันเลยครับ เพราะโปรแกรมนี้สามารถบันทึกการทำงานของเครื่องพิมพ์ทุกอย่าง ตั้งแต่ ใครเป็นคนสั่งพิมพ์สั่งเมื่อไร พิมพ์กี่หน้า พิมพ์จากโปรแกรมอะไร ฯลฯ เป็นต้น โปรแกรมนี้อาจไม่ได้ช่วยให้คุณประหยัดหมึกหรือกระดาษได้ แต่อย่างน้อยก็รู้ว่า ใครใช้หมึกกับกระดาษเปลืองทีสุดกันแน่
ทิปแก้ปัญหาเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต
1. กระดาษติดปัญหาชวนหงุดหงิดแก้ไขได้
ถ้า งานของคุณหยุดพรินต์กลางครันหรือไม่มีการพรินต์ออกมาเลยให้สันนิษฐานได้ว่า เกิดปัญหากระดาษติดแล้วซึ่งอาจเพราะกระดาษขาด ,พับ หรือป้อนกระดาษไม่ถูกต้อง บรรยากาศที่มีความชื้นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งเช่นกัน พรินเตอร์ที่มีปัญหากระดาษติดบ่อยๆ อาจจะต้องมีการทำความสะอาดโดยผู้ชำนาญการหรือต้องเปลี่ยนอะไหล่บางชิ้น คุณภาพของกระดาษที่ไม่ได้มาตรฐานก็เป็นตัวการทำให้เกิดกระดาษติดได้ เพียงแค่จ่ายเพิ่มอีกหน่อยเพื่อซื้อกระดาษที่มีคุณภาพดีกว่าต้องมาอารมณ์ เสียกับปัญหากระดาษติดภายหลัง
เครื่องพรินเตอร์อิงก์เจ็ตโดยเฉพาะรุ่น ราคาถูกๆ มักอ่อนไหวกับตำแหน่งการใส่กระดาษและน้ำหนักของกระดาษ ให้ที่กั้นในช่องใส่กระดาษอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะกับกระดาษและอย่าป้อน กระดาษต่างชนิดกันปนกันในช่องใส่กระดาษ เมื่อกระดาษติดให้ดึงกระดาษออกมาในทิศทางตรงกันข้ามกับทีกระดาษถูกดึงเข้า ไปในเครื่องพรินเตอร์แล้วตรวจดูว่ามีเศษกระดาษหลงเหลืออยู่หรือเปล่า ถ้าลูกกลิ้งหรือตัว Roller ที่ใช้ดึงกระดาษเอียงให้ลองพยายามค่อยๆ จัดตำแหน่งของมันใหม่อย่างระมัดระวัง
2. แก้ปัญหาพิมพ์กระดาษแกรมหนาๆ
ปัญหา กระดาษค้างหรือติด เมื่อพิมพ์กับกระดาษที่แกรมหนาๆ สามารถป้องกันได้ง่ายๆ นั่นคือ เวลาใส่กระดาษในถาดไม่ควรตั้ง Guide ให้ชิดติกกับขอบกระดาษ ควรเว้นว่างไว้ประมาณ 1 กระเบียด
3. ใช้กระดาษแข็งรอง ก็ช่วยได้
ใช้ กระดาษแข็งหรือแผ่นพลาสติกรองกระดาษ เพื่อให้เครื่องพิมพ์สามารถดูดกระดาษได้ง่ายๆขึ้น (แต่ระวังอย่าให้แผ่นรองโดนดูดไปด้วยนะครับ) อ้อ... แล้วไม่ควรใส่กระดาษเกินกว่า 5 แผ่นนะครับ (ลองดูคู่มือของเครื่องพิมพ์ประกอบด้วย ว่ารับประกันดาษหนาสุดได้กี่แกรม) เพราะแต่ละรุ่นอาจรองรับกระดาษได้ไม่เท่ากัน ทดลองใส่แล้วพิมพ์ดูดครั้งละ 1 แผ่นจนถึง 5 แผ่นแล้วดูว่ากี่แผ่นดีที่สุด
4. กรีดกระดาษก่อนพิมพ์
กรีด กระดาษก่อนใส่ในเครื่องพิมพ์เสมอ เพื่อให้อากาศสามารถเข้าไปแทรกตัวอยู่ระหว่างกระดาษได้และเพื่อให้ฝุนผงที่ เกาะอยู่หลุดออก ถ้าทำไม่เป็นให้จับปลายด้านใดด้านหนึ่งแล้วสะบัดๆ จนครบ 4 ด้าน ก็ได้ครับ จากนั้นม้วนหัวกระดาษให้งอเล็กน้อยก่อนใส่เครื่องพิมพ์ เพื่อให้ลูกกลิ้งดูดกระดาษได้ง่ายขึ้น
5. แก้ปัญหาหัวพิมพ์อุดตัน
สำหรับ หมึกพิมพ์นั้นการทำความสะอาดให้ใช้ซอฟแวร์ที่มากับเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีฟีเจอร์เกี่ยวกับการดูและรักษาหมึก เช่น Cleaner แต่ถ้าหากไม่มีหรือซอฟต์แวร์ใช้ไม่ได้ผลก็ให้ลองเอาตลับหมึกแช่ไว้ในน้ำ อุ่นสักครู่แล้วจึงซับด้วยผ้าแห้งที่ไม่มีขน หากไม่ได้ผลจริงให้ใช้สำลีพันไม้หรือคัตตอนบัตชุบแอลกอฮอล์เช็ตแผล หรือทินเนอร์ (อันนี้ต้องระวังอย่าให้ถูกส่วนที่เป็นพลาสติกนะครับ) แล้วแต้มเบาๆ ที่หัวหมึก
สำหรับเครื่องพรินเตอร์ของ HP และ Lexmark ที่มีปัญหาและได้ทดลองแก้ปัญหาด้วยการใช้โปรแกรม Head cleaning และ Nozzle check แล้วปรากฏว่า ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาหัวพิมพ์ตันได้ ให้ลองใช้น้ำอุ่นประมาณ 1 แก้ว ใส่ลงในภาชนะที่มีขนาดพอที่เราจะนำตลับหมึกจุ่มลงไปได้ โดยจุ่มเฉพาะส่วนที่เป็นท่อน้ำหมึกลงไปแช่ไว้ประมาณ 3- 4 นาที หรือนานกว่า จนกว่าจะเริ่มเห็นน้ำหมึกเริ่มไหลออกมาจากปลายท่อน้ำหมึกผสมกับน้ำ แต่ไม่ต้องกังวลว่าหมึกจะไหลออกจนหมด จากนั้นเมื่อแน่ใจว่าไม่มีคราบหมึกติดอยู่ใน nozzle แล้วก็ค่อยๆ ซับเบาๆ ให้แห้งด้วยผ้าสะอาด จากนั้นนำสำลีชุบแอลกอฮอล์หมาดๆ เช็ดบริเวณที่เป็นโลหะ (สีของโลหะจะเป็นสีทองแดง) ของทั้งตลับหมึกและที่ใส่ตลับหมึกตัวพรินเตอร์ จากนั้นนำตลับหมึกใส่กลับเข้าไปในพรินเตอร์เข้าที่แล้วล้างหัวพิมพ์ด้วย โปรแกรมของพรินเตอร์อีกที
6. ทำอย่างไรเมื่อเจอ “Not Enough Disk Space to Print”
ถ้า คุณได้รับข้อความ“Not Enough Disk Space to Print” แสดงว่าคุณกำลังมีปัญหากับหน่วยความจำของเครื่อง วิธีแก้คือ ให้ไปที่ Start> Search > All files and folders แล้วพิมพ์คำว่าค้นหาว่า *.tmp ในไดรฟ์ C: (รวมไปถึง subfolders ด้วย) เมื่อค้นหาเสร็จแล้วให้เลือกทั้งหมดแล้วลบทิ้งโดยไม่ต้องเหลือไว้ใน Recycle Bin (หรือกด Shift+Delก็ได้) จะทำให้เครื่องมีพื้นที่มากขึ้นและสามารถพิมพ์ได้เร็วขึ้นด้วย
พิมพ์งานให้ประหยัดสุด ๆ
ในยุคข้าวยากหมากแพงแบบนี้ ความคุ้มค่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน การเดินทาง ของใช้อุปโภค บริโภค ฯลฯ ก็ต้องคิดแล้วคิดอีก ก่อนจะควักเงินออกมาจ่ายแต่ละที การพิมพ์งานด้วยอิงก์เจ็ตก็เหมือนกัน เพราะอย่างที่รู้กันดีว่า ตัวเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตนั้นราคาไม่เท่าไร แต่ที่ดูดเงินออกไปมากมายนั้นก็คือราคาหมึกพิมพ์ โดยเฉพาะหมึกพิมพ์แท้ๆ ที่ทางผู้ผลิตก็ยังนั่งยัน นอนยัน ว่ายังไงก็ไม่มีทางลดราคาอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงต้องเป็นภาระของเราๆ ท่านๆ ที่ต้องมาหาวิธีประหยัดและคุ้มค่าสำหรับหมึกพิมพ์แต่ละกลักให้ใช้งานได้ นานๆ พิมพ์งานให้ได้เยอะๆ หน้ามากที่สุด
1. สั่งพิมพ์แบบโทนสีเทา
หาก คุณต้องการพิมพ์งานให้เร็วและประหยัดโดยไม่คำนึงถึงความสวยงาม ขอให้คุณพิมพ์เป็นขาวดำแทนที่จะเป็นสีดีกว่า โดยเลือกงานพิมพ์เป็นแบบ Gray หรือสีเทา
2. ประหยัดด้วยโหมด Draft หรือ Economy
อีกทาง หนึ่งซึ่งช่วยประหยัดหมึก คือการเลือกใช้งานพิมพ์แบบ Draft หรือ Economy ซึ่งลดการใช้หมึกได้มากทีเดียว (แต่ถ้ายังไม่มากพอ เรามีทูลมาช่วย ลองอ่านต่อใน “6 ทิปงานพิมพ์ จากยูลิตี้เล็กๆ แต่เก่งเกินตัว)
3. เก็บกระดาษถูกวิธี ลดงานพิมพ์เสียได้
เพื่อหลีก เลี่ยงปัญหากระดาษค้าง ซึ่งทำให้ต้องสิ้นเปลืองกระดาษโดยใช่เหตุ ควรเก็บรักษากระดาษที่ใช้พิมพ์ในที่แห้งและปลอดโปล่ง เนื่องจากความชื้นจะทำให้กระดาษมีโอกาสเกาะติดกันได้ง่าย หรือให้เลือกใช้กระดาษที่มีความเรียบและมันจะดีกว่ากระดาษที่มีลักษณธเป็น ขุยซึ่งดูดความชื้นได้ดี
4. พิมพ์รวมหลายหน้า ประหยัดทั้งหมึก ทั้งกระดาษ
บาง ครั้งงานที่ต้องการพิมพ์มีความยาวหลายหน้ากระดาษคุณอาจลดการใช้กระดาษโดย การพิมพ์เอกสารหลายๆ หน้า ลงกระดาษแผ่นเดียว เช่น ถ้าพิมพ์จากเวิร์ดให้ไปที่ File>Print มองดูด้านล่างขวาจะเห็นคำว่า Pages per sheet และเมนูให้เลือกจำนวนหน้าต่อแผ่น
5. ก่อนปิดเครื่อง แน่ใจว่าพิมพ์งานหมดแล้ว
ไม่ ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนที่เครื่องพิมพ์ จะพิมพ์งานออกมาหมด เพราะเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่ Spool ก็สั่งจะพิมพ์งานเดิม ใหม่อีกครั้ง เป็นการเปลืองหมึกและกระดาษโดยใช่เหตุ
6. ตั้งขอบให้ชิด เมื่อต้องการพิมพ์หน้าเว็บ
เมื่อ ต้องพิมพ์เอกสารจากเว็บไซต์ ควรปรับขนาดของขอบหน้าเอกสารให้เหลือน้อยที่สุด (0.5ด ซ.ม.) เพื่อประหยัดจำนวนของหน้าเอกสารนั้น และยกเลิกข้อความที่หัวกระดาษและท้ายกระดาษออกไป เพราะเป็นส่วนที่เราไม่ได้ใช้งาน ช่วยประหยัดหมึกได้อีกทางหนึ่งด้วย
7. อย่าปิด-เปิดเครื่องบ่อยนัก
เพราะ ทุกครั้งที่เครื่องพิมพ์เปิดเครื่อง มันจะเช็คความพร้อมของหัวพิมพ์ โดยการพ่นหมึกออกมาจำนวนหนึ่ง ถึงแม้ว่าหมึกที่พ่นออกมาจะจำนวนไม่มากนัก แต่ถ้าหลายๆ ครั้งก็ทำให้น้ำหมึกในตลับของคุณพร่องไปได้เหมือนกัน
8. ใช้กระดาษคุณภาพดีๆ ช่วยประหยัดหมึกได้ด้วย
เพราะ กระดาษที่คุณภาพดี จะสะท้อนสีหมึกได้ชัดและสดใสกว่า ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องพิมพ์เอกสารหรือภาพกราฟฟิก ที่คุณภาพสูงๆ ให้เปลืองหมึก คุณอาจใช้แค่ระดับ Medium หรือ Draft ก็เพียงพอแล้ว
9. สั่งไม่ให้พิมพ์แบ็กกราวนด์หน้าเว็บเพจ
หาก คุณต้องการพิมพ์หน้าเว็บเพจที่มีแบ็กกราวนด์เป็นสี (ส่วนใหญ่มักใช้พื้นแบ็กกราวนด์เป็นสีดำ) หากว่าคุณสั่งพิมพ์ออกมาเลย โดยที่ยังไม่ได้กำหนดค่าใดๆ เครื่องพิมพ์จะพิมพ์หน้าเว็บ พร้อมสีแบ็กกราวนด์ด้วย ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองเป็นอย่างมาก แนะนำให้ยกเลิกการพิมพ์สีแบ็กกราวนด์ของเว็บเพจเสียก่อน โดยไปกำหนดที่บราวเซอร์ในเมนู Tools/Internet Option จากนั้นไปที่แท็บ Advanced แล้วเอาเครื่องหมายถูกหน้าข้อ Print background color and images ออกเสีย
10. ล้างหัวพิมพ์เพลิน อาจหมึกหมดโดยไม่รู้ตัว
การ สั่งล้างหัวพิมพ์ ช่วยเรื่องแก้ปัญหาหัวพิมพ์อุดตันได้ก็จริง แต่ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าสั่งล้างหัวพิมพ์บ่อยนัก เพราะการล้างหัวพิมพ์แต่ละครั้ง เครื่องพิมพ์ต้องสั่งฉีดน้ำหมึกออกมาจำนวนมาก เพื่อให้สิ่งสกปรกที่อุดตันอยู่ที่หัวพิมพ์ หลุดออกมาให้หมด ดังนั้นทางที่ดีควรดูแลรักษาอย่าให้หัวพิมพ์อุดตันจะดีกว่า (ดูทิปการบำรุงดูแลรักษาเครื่องพิมพ์)
11. อย่าใจร้อน ดูพรีวิวเสียก่อน
งาน พิมพ์บางอย่าง อาจได้ไม่ตรงกับที่เห็นบนหน้าจอโดยเฉพาะงานพิมพ์จากโปรแกรม Excel หรือหน้าเว็บเพจที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้นอย่าประมาท ลองใช้คำสั่ง Print preview เสียก่อน เพื่อเช็คว่า งานพิมพ์ออกมาตรงกับที่เราต้องการหรือไม่ เสียเวลานิดหน่อย แต่ประหยัดทั้งหมึก และการดาษเลยทีเดียว
10 วิธีพื้นฐาน...สำหรับการพิมพ์ภาพที่สมบูรณ์
เพียงแค่พรินเตอร์คุณภาพสูงอย่างเดียวนั้นยังไม่พอที่จะทำให้คุณพิมพ์ภาพ ถ่ายออกมาอย่างสมบูรณ์แบบได้ ตราบใดที่คุณละเลยขั้นตอนพื้นฐานต่อไปนี้
1 ความละเอียดภาพ
มาตรฐาน ของหน่วยที่ใช้วัดความคมชัดของภาพถ่ายก็คือ ค่า dpi (dots per inch) หรือค่าที่แสดงถึงจำนวนจุดในพื้นที่ 1 ตารางนิ้วบนภาพ ซึ่งในที่นี้คุณต้องแน่ใจว่า ภาพถ่ายดิจิตอลของคุณนั้นมีค่าความละเอียดนี้อย่างน้อย 240dpi แล้วสำหรับการพิมพ์ออกมาเป็นภาพขนาด 4x6 นิ้ว แต่ถ้าหากคุณต้องการพิมพ์ให้มีขนาดใหญ่ 5x7 นิ้วหรือใหญ่กว่านี้ก็ภาพดิจิตอลก็ควรมีความละเอียด 300dpi
นอกเหนือไป จากเรื่องความละเอียดแล้ว คุณต้องแน่ใจด้วยว่าภาพถ่ายนั้นๆ มีขนาดที่ใหญ่พอที่จะนำไปพิมพ์ลงบนกระดาษที่คุณต้องการด้วย เพราะกรณีที่คุณนำภาพที่มีขนาดเล็กไปพิมพ์ลงบนขนาดใหญ่ ภาพที่ได้ออกมาจะแตกเป็นบล็อกรูปสี่เหลี่ยมหรือเกิดเป็นรอยหยักที่เห็นได้ อย่างชัดเจน
2 รูปแบบไฟล์ภาพ
ในกรณีที่คุณมีภาพความละเอียด สูง คุณจำเป็นต้องบันทึกภาพให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมด้วยเช่น TIFF หรือ JPEG แต่เนื่องจากไฟล์ภาพแบบ JPEG นั้นจะมีการบีบอัดสูงดังนั้นถ้าคุณต้องการพิมพ์ภาพโดยให้มีคุณภาพสูงจริงๆ ก็ควรไฟล์ภาพแบบ TIFF เสมอแม้ว่าไฟล์ภาพชนิดนี้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่ามากก็ตาม
3 ปรับแต่งคุณภาพภาพ
ก่อน ที่คุณจะนำภาพถ่ายมาพิมพ์ลงกระดาษ ถ้าเป็นไปได้คุณควรนำภาพนั้นมาตรวจสอบหรือทำการปรับแต่งด้วยโปรแกรมปรับ แต่งภาพก่อน ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้จะช่วยให้ภาพถ่ายมีความคมชัด มีความถูกต้องสีและแสงมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่การลดจุดรบกวนสีในภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลก็เป็นการปรับปรุง คุณภาพของภาพที่จะนำมาพิมพ์ด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นการนำฟิลเตอร์ลักษณะต่างๆ มาใช้กับภาพก็จะยิ่งทำให้ภาพที่ดูมีคุณภาพขึ้นด้วย
สำหรับกรณีที่คุณไม่ มีโปรแกรมตกแต่งภาพ คุณก็สามารถใช้ฟังก์ชันปรับแต่งภาพภายในไดรเวอร์แทนได้เช่นกัน ทั้งในเรื่องการปรับความสมดุลของสีและแสงเงาต่างๆ
4 ใช้ไดรเวอร์เวอร์ชันล่าสุด
ถ้า เป็นไปได้ พรินเตอร์ของคุณควรใช้ไดรเวอร์ที่เป็นเวอร์ชันใหม่ล่าสุด ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าไดรเวอร์ได้รับการแก้ไขมาให้เหมาะกับพรินเตอร์แล้ว จริงๆ นอกจากนั้นภายในไดรเวอร์เวอร์ชันใหม่ๆ ก็มักจะมีค่ากำหนดบางอย่างสำหรับการพิมพ์เพิ่มเข้ามาด้วย โดยเฉพาะฟังก์ชันการปรับแต่งภาพและการเลือกใช้ระบบสีที่เหมาะสม ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้ภาพที่พรินเตอร์พิมพ์ได้มีคุณภาพจริงๆ
5 ความละเอียดในการพิมพ์
เพื่อ ให้ภาพที่พิมพ์ได้มีคุณภาพสูงที่สุด คุณควรกำหนดให้พรินเตอร์พิมพ์ภาพด้วยความละเอียดสูงที่สุดเท่าที่พรินเตอร์ จะทำได้ด้วย โดยเลือกที่หัวข้อ Best, Fine, Highest หรือกำหนดใช้ค่าความละเอียดสูงสุดที่พรินเตอร์ระบุ แต่อย่างไรก็ตามการที่คุณจะกำหนดค่าความละเอียดนี้ได้ พรินเตอร์บางรุ่นจะก็จะอ้างอิงจากชนิดของกระดาษที่ใช้ด้วย
6 ใช้หมึกพิมพ์ภาพถ่าย
พรินเตอร์ บางรุ่นสามารถใช้หมึกพิมพ์ได้ทั้งชนิดธรรมดาและแบบพิมพ์ภาพภาพถ่าย ซึ่งในกรณีที่คุณต้องการพิมพ์ภาพให้ได้คุณภาพก็ควรเลือกใช้เฉพาะหมึกที่ออก แบบไว้สำหรับพิมพ์ภาพถ่ายจริงๆ และถ้าเป็นไปได้ก็ควรเลือกใช้เฉพาะหมึกพิมพ์ที่ผู้ผลิตพรินเตอร์แนะนำให้ ใช้เท่านั้น
7 การเลือกใช้กระดาษ
ผู้ผลิตพรินเตอร์รายต่างๆ ล้วนแต่แนะนำให้ผู้ใช้ใช้กระดาษของตัวเองเสมอ โดยเฉพาะในกรณีของกระดาษพิมพ์ภาพถ่ายชนิดต่างๆ ซึ่งคุณก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวนี้ เนื่องจากกระดาษพิมพ์ภาพถ่ายของผู้ผลิตต่างถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีและมี ความเข้ากันได้ดีกับหมึกที่ใช้กับพรินเตอร์นั้นๆ มากที่สุด ซึ่งนอกจากจะให้ผลที่ดีกว่าในเรื่องคุณภาพภาพที่ได้แล้ว ยังให้ผลที่ดีในเรื่องความทนทานของภาพและการเก็บรักษาในระยะยาวด้วย
8 การตั้งค่าชนิดกระดาษ
โดย ปกติแล้วกระดาษที่เหมาะสำหรับใช้ในการพิมพ์ภาพจะรู้จักกันดีในชื่อว่า กระดาษพิมพ์ภาพถ่ายหรือ Photo Paper และในการกำหนดค่าการพิมพ์คุณก็ต้องระบุการใช้กระดาษให้เป็นกระดาษพิมพ์ภาพ ถ่ายด้วย หรือถ้าเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์ภาพถ่ายชนิดอื่นก็กำหนดให้ตรงกันด้วย ทั้งนี้เพื่อให้พรินเตอร์สามารถควบคุมปริมาณของหมึกที่จะพ่นลงมาบนกระดาษ ที่ใช้พิมพ์ภาพได้อย่างเหมาะสม และได้ภาพที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด
9 ทำความสะอาดและปรับหัวพิมพ์
ใน ซอฟต์แวร์ไดรเวอร์ของพรินเตอร์รุ่นต่างๆ จะมี Tools สำหรับใช้บำรุงรักษาเครื่องเตรียมไว้ให้ผู้ใช้ใช้ด้วย ซึ่ง Tools เหล่านี้ก็มีผลต่อคุณภาพของภาพพิมพ์ได้ด้วย โดยเฉพาะการปรับค่าระยะหัวพิมพ์ให้มีความเหมาะสมและการทำความสะอาดหัวพิมพ์ ซึ่งคุณควรใช้อย่างสม่ำเสมอทั้งนี้เพื่อให้การพิมพ์ของเครื่องเกิดประโยชน์ มากที่สุด
10 รอเวลาให้หมึกแห้ง
หลังจากที่พิมพ์ออกมาเป็น ภาพได้แล้ว อย่าสัมผัสหรือจับที่ภาพในบริเวณที่มีหมึกพิมพ์หรือนำไปใส่กรอบกระจกในทันที เนื่องจากลายนิ้วมือและรอยคราบอื่นๆ อาจจะติดไปที่ภาพ หรือจนจะทำให้ภาพเปื้อนเลอะเทอะจนเกิดการเสียหายได้ แม้ว่าผู้ผลิตจะออกแบบหมึกพิมพ์และกระดาษมาให้สามารถแห้งได้ภายในเวลาอัน สั้น แต่ทางที่ดีคุณควรรอให้หมึกแห้งสนิทจริงๆ ก่อนด้วยการปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 18 ชั่วโมง
สำหรับกรณีที่คุณ พิมพ์ภาพถ่ายเป็นจำนวนมาก หลังจากที่พิมพ์ภาพใดภาพหนึ่งเสร็จแล้วก็ควรนำภาพนั้นออกจากพรินเตอร์ก่อน ก่อนที่ภาพต่อไปจะพิมพ์เสร็จออกมาทับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าภาพที่พิมพ์ได้จะไม่ถูกซ้อนทับจนทำให้หมึก เลอะเทอะหรือมีสิ่งไม่พึงประสงค์จากกระดาษมาติดอยู่ภาพที่พิมพ์ได้นั่นอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น